ค้นหาบล็อกนี้

วันเสาร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

Backward Design คืออะไร

"Backward Design" ซึ่งเป็นการให้ครูได้ลงมือปฏิบัติจริง (Hands-on) ทำชิ้นงานต่างๆ ที่จะให้นักเรียนทำและเรียนรู้วิธีการจัดทำแผนการเรียนรู้จากงานของนักเรียน ที่ได้ทดลองทำด้วยตนเอง
หัวใจหลักของการเรียนรู้คือเมื่อผู้เรียนเกิดความเข้าใจที่ลึกซึ้งจะสามารถทำสิ่งดังต่อไปนี้

๑.  Can explain สามารถอธิบายแนวคิด เหตุการณ์ หรือปรากฏการณ์อย่างชัดเจน พร้อมข้อมูล ทฤษฎี และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง สามารถอธิบายเหตุผลและวิธีการ (Why and How)  ทั้งยังสามารถแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่ก้าวเกินคำตอบเพียงผิด หรือถูก


๒.  Can interpret สามารถแปลความให้เกิดความหมายที่ชัดเจน ชี้ให้เห็นคุณค่า  แสดงให้เห็นความเชื่อมโยงสู่ชีวิตจริง และผลกระทบที่อาจมีต่อผู้เกี่ยวข้อง                 

๓.   Can apply สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์ใหม่ๆที่ต่างไปจากที่เรียนรู้มา 

๔.   Have perspective สามารถมองข้อดี ข้อเสีย จากมุมมองที่หลากหลาย

๕.  Can empathize มีความละเอีย[คำไม่พึงประสงค์]่อนที่จะซึมซับ รับทราบถึงความรู้สึกนึกคิดของผู้ที่เกี่ยวข้อง

๖.  Have self-knowledge รู้จักตนเอง ตระหนักถึงจุ[คำไม่พึงประสงค์]่อน วิธีคิด วิถีปฏิบัติ ค่านิยม อคติ ของตนเอง ตลอดจนปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้และความเข้าใจของตนเอง

การประเมินความเข้าใจแต่ละด้าน ซึ่งจะมีระดับความลุ่มลึกต่างกัน โดยได้เสนอเกณฑ์หรือ Rubric ในการประเมินอย่างชัดเจน


...........................................................................
การออกแบบการจัดการเรียนรู้โดยวิธี Backward Design

โดย  ดร.เฉลิม ฟักอ่อน.
ศึกษานิเทศก์ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลำพูน เขต 1. เมษายน 2550.

http://www.radompon.com/download/BackwardDesign.pdf 

หลักการของ  Backward  Design

กระบวนการออกแบบถอยหลังกลับ (Backward  Design) ของ Wiggins  และ McTighc  เริ่มจากคิดทุกอย่างให้จบสิ้นสุดจากนั้นจึงเริ่มต้นจากปลายทางที่ผลผลิตที่ ต้องการ (เป้าหมายหรือมาตรฐานการเรียนรู้)  สิ่งนี้ได้มาจากหลักสูตร  เป็นหลักฐานพยานแห่งการเรียนรู้ (Performances)   ซึ่งเรียกว่า มาตรฐานการเรียนรู้  แล้วจึงวางแผนการเรียนการสอนในสิ่งที่จำเป็นให้กับนักเรียนเพื่อเป็นเครื่อง มือที่นำไปสู่การสร้างผลงานหลักฐานแห่งการเรียนรู้นั้นได้
      กระบวน การออกแบบการวางแผนของครูผู้สอนเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างต่อเนื่องกัน  3 ขั้นตอน   แต่ละขั้นตอนประกอบด้วยคำถามที่ว่า

      ขั้นตอน 1 :  อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า
      ขั้นตอน 2 :  อะไรคือพยานหลักฐานของความเข้าใจ
      ขั้นตอน 3 :  ประสบการณ์การเรียนรู้และการสอนอะไรที่จะสนับสนุน
                                             ทำให้เกิดความเข้าใจ  ความสนใจและความยอดเยี่ยม
                                             ในหลักฐานนั้นๆ …


                        ขั้นตอนที่ 1      :  อะไรคือความเข้าใจที่ต้องการและมีคุณค่า

      การ ใช้หลักการออกแบบแบบถอยหลังกลับ   อันดับแรกครูผู้สอนควรทำคือการให้ความสำคัญที่เป้าหมายการเรียนรู้ (Learning  goals)  หรือเป้าหมายของความเข้าใจ        ความเข้าใจที่ว่านี้คือ ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืน (Enduring Understanding)  ที่ครูผู้สอน

ทุกคนต้องการให้นักเรียนของพวกเขาได้ รับการพัฒนาไปให้ถึงจุดหมายปลายทางตามลำดับขั้นการเรียนรู้บรรลุผลที่สำเร็จ สมบูรณ์ที่สุด สิ่งนี้ก็เป็น จุดเน้นสำคัญที่จะขาดเสียมิได้รวมทั้งแนวทางดำเนินการ,  ชุดคำถามที่สำคัญด้วยเช่นกัน  ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าข้อเท็จจริงต่าง ๆ และทักษะต่างๆ ที่มุ่งไปสู่ความคิดรวบยอดใหญ่ๆ   หลักการต่าง ๆ  หรือกระบวนการต่างๆ
   ตัวอย่าง ความเข้าใจที่ฝังใจอย่างยั่งยืนในตัวผู้เรียน  และชุดคำถามที่สำคัญหรือแนวทาง ชุดคำถาม  ประกอบด้วย
 เรามีวิธีการใดที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนสามารถสร้างสรรค์ได้เท่าทียมกัน ?
 มีวิธีการใดที่จะดำเนินชีวิตให้มีสุขภาพอนามัยที่ดี ?
 มีวิธีการใดที่เป็นอิสระเป็นตัวของตัวเอง ?
 จะดำรงชีวิตอย่างไรในท่ามกลางความเปลี่ยนแปลง
Wiggins  and  McTighe  เสนอแนะให้ใช้เครื่องกรอง “Filters”  เพื่อให้ได้มาซึ่งความเข้าใจคุ้มค่ากับเวลาที่เสียไปคือ
 เป็นตัวแทนความคิดที่สำคัญ (big idea) มีคุณค่าฝังแน่นฝังใจมีระดับที่เหนือกว่าสูงกว่าในระดับชั้นเรียน
 เป็นหัวใจที่สำคัญที่บรรจุลงลงในรายวิชา (ซึ่งมีผลต่อ “การลงมือทำ”  ในเนื้อหาวิชา)
 ต้องไม่จำกัดขอบเขต (เพราะว่ามันเป็นนามธรรมและทำให้เกิดความคิดที่เข้าใจผิ[คำไม่พึงประสงค์]ยู่เป็นประจำ)
 สนับสนุนความสามารถที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวผู้เรียน
ความ เข้าใจที่ได้คัดเลือกไว้บางทีอาจเป็นความเข้าใจที่สำคัญมากๆ  หรือความเข้าใจในระดับหน่วยการเรียนรู้,  ลำดับขั้นตอนความเข้าใจ  (สิ่งเหล่านี้ พวกเราหวังว่าจะเป็นตัวช่วยให้บรรลุผลความเข้าใจในแต่ละระดับ  ตลอดระยะเวลาในลำดับขั้นตอนของการเรียนรู้)   ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น

                                           ขั้นตอนที่ 2     : อะไรคือหลักฐานพยานของความเข้าใจ

      ครู ผู้สอนต้องตัดสินใจต่อไปว่า   ความเข้าใจเหล่านี้  นักเรียนจะนำเสนอหรือสาธิต, แสดงออกให้เห็นได้อย่างไรว่านักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแท้จริง  Wiggins and  Mctighe ได้ให้รายละเอียดของความเข้าใจ 6 ประการ (Six  facets  of  understanding)  โดยเชื่อว่านักเรียนจะมีความเข้าใจอย่างแท้จริง  เมื่อนักเรียนสามารถ
 อธิบายชี้แจงเหตุผล (can  explain)
 แปลความตีความ (can interpret)
 ประยุกต์ (can apply)
 มีเทคนิคการเขียนภาพที่เห็นด้วยตาจริง (have  perspective)
 สามารถหยั่งรู้มีความรู้สึกร่วม (can empathise)
 มีองค์ความรู้เป็นของตนเอง (have  self – knowledge)
ทั้ง 6 ด้านของความเข้าใจสามารถช่วยสนับสนุน  ให้เกิดความเข้าใจตามธรรมชาติของความเข้าใจและมีหนทางหลากหลาย  ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไปเกี่ยวกับความเข้าใจ  เพื่อความสมเหตุสมผลกับรูปแบบการเรียนรู้ (Learning  styles)  นักเรียนจะนิยมชมชอบบางข้อเท็จจริง  หรือมีความเข้มแข็งบางด้าน (some  facets) ของความเข้าใจมากกว่าพวกคนอื่น ๆ ที่เขามีอีกด้านอื่นๆ สิ่งเหล่านี้เป็นความท้าทายสำหรับครูผู้สอนที่จะพัฒนาความเข้าใจในแต่ละด้าน ให้กับนักเรียนทุกคน  ทั้งหกด้าน  (six  facets)   ของความเข้าใจซึ่งได้ให้ความสำคัญอย่างต่อเนื่องในแต่ละขั้นตอนของกระบวน การออกแบบการประเมินผลและการเรียน
การสอน  โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นที่ 2 – คือการกำหนดหลักฐานพยานที่ยอมรับได้ว่านักเรียนรู้จริงทำได้จริงมีความเข้า ใจตามเป้าหมายที่ต้องการ
ในส่วนของกระบวนการวางแผนนี้  อะไรที่ทำให้ “backward  design”  แตกต่างจากระบวนการวางแผนที่เคยปฏิบัติเป็นประเพณีมาตั้งแต่ดั้งเดิม  ก่อนการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อพัฒนาความเข้าใจต่าง ๆ  คณะครูผู้สอน  มีความจำเป็นต้องวางแผนเพื่อกำหนดแนวทางการประเมินผลขึ้นก่อน  ในขณะเดียวกันก็เน้นถึงความสำคัญให้เกิดความชัดเจนในการพัฒนาผลงาน / ภาระงานความสามารถ  (Performance  tasks)  ด้วย  Wiggins  and  Mctighe  สนับสนุนความพอเหมาะที่ได้สัดส่วนของการใช้การประเมินผล ซึ่งเป็นการใช้การประเมินผลที่มากกว่าแบบดั้งเดิม  อันประกอบด้วย  การสังเกต,การสอบย่อย, การใช้แบบสอบประเภทต่างๆ เป็นต้น
การกำหนดแนวทางเพื่อใช้คัดเลือกขอบเขตของการประเมินผล ผลงาน/ภาระงาน ต่างๆ  และการแสดงความสามารถต่าง ๆ  ต้อง :
 สนับสนุน ช่วยเหลือให้นักเรียนได้มีการพัฒนาความเข้าใจ (Developing  understand)
 ให้โอกาสกับนักเรียนได้นำเสนอ  อธิบายถึงความสามารถในความเข้าใจ
ผลงาน / ภาระงาน (tasks)  ต้องมีการจำแนกแยกแยะและระดับของความแตกต่างหรือชั้นของความเข้าใจอีกด้วย
ขอ เน้นถึงความสำคัญ   การประเมินผลเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ และควรจะมีอยู่ (มีการประเมินผลอยู่ตลอด) ตั้งแต่ต้นจนจบของลำดับขั้นตอน  มิใช่นำมาใช้เมื่อจบหน่วยหรือจบรายวิชาเท่านั้น

     ขั้นตอนที่ 3      :   อะไรคือประสบการณ์การเรียนรู้และจะสอนอย่างไร

      ใน ขั้นตอนที่ 3 – ของกระบวนการ backward  design  ครูผู้สอนออกแบบในลำดับขั้นตอนคิดกิจกรรมประสบการณ์การเรียนรู้เพื่อให้นัก เรียนรับผิดชอบดำเนินการในกิจกรรมต่างๆ เพื่อเป็นการพัฒนาความเข้าใจ (develop  understanding)
      การเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียนจะมี ระดับที่เหนือกว่ามากกว่าการจำได้ในเนื้อหาวิชาที่เรียน  นักเรียนต้องได้รับการจัดกิจกรรมตามแผนการเรียนรู้ที่เป็นไปได้สำหรับพวกเขา ที่สืบค้น  (inquiries)   ประสบการณ์โดยตรง  กระบวนการให้เหตุผล (arguments)  การประยุกต์นำไปใช้และจุดของภาพที่ซ้อนเร้นอยู่ข้างล่างของข้อเท็จจริงและ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่พวกเขาเรียนรู้  ถ้าพวกเขามีความเข้าใจในสิ่งนั้น ๆ
      ประสบการณ์แห่งการเรียนรู้ต้องการให้ผู้เรียน :
      -  สร้างทฤษฎี  อธิบายชี้แจง แปลความ  ตีความ,ใช้หรือมองเห็นด้วยจินตทัศน์ (perspective) ในสิ่งที่พวกเขาต้องการเรียนรู้...ซึ่งพวกเขาก็ไม่จำเป็นว่าจะต้อง มีความเข้าใจที่เหมือนๆ  กัน  หรือมีความสามารถในความเข้าใจในสิ่งเหล่านี้ซึ่งเป็นสิ่งที่มีคุณค่ามากกว่า ที่จะจดจำ
      ประสบการณ์ต่างๆ  เหล่านี้  ต้องผสมกลมกลืนทั้งในแนวกว้างและแนวลึก  และจะต้องเป็นทางเลือกที่ต้องการและได้รับการยอมรับ  ประสบการณ์เหล่านี้ที่จะถูกนำไปดำเนินการในเชิงลึกซึ่งต้องการให้นักเรียน เจาะลึก (unearth)   วิเคราะห์แยกแยะ  ตั้งคำถาม  พิสูจน์และวางหลักเกณฑ์ทั่วๆ  ไป   การที่ให้ประสบการณ์มีลักษณะกว้างเพื่อต้องการให้นักเรียนทำการเชื่อมโยง  มองเห็นภาพ (ตัวแทนหรือรูปจำลอง)  และขยายความคิดให้กว้างแผ่ออกไป
      สิ่ง ที่สำคัญก็คือความชัดเจนในวิธีการที่อิงแนวทางแสวงหาความรู้ (inquiry – based  approach)  ที่ต้องการ “ไม่จำกัดขอบเขต (uncovering)”  ในการเลือกเนื้อหา

      การทบทวนและขัดเกลา  (Review  and  Refine)

      ดู เหมือนว่าในแบบจำลองของการวางแผนทั้งหมดของ “backward  design”  ต้องการกระบวนการปรับปรุงแก้ไขและสิ่งที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขขัดเกลาแล้ว ในทุกขั้นตอนในกระบวนการของการวางแผน
      “การคิดสร้างสรรค์ของการใช้หน่วยการเรียนรู้ของกระบวนการวางแผนด้วย
      backward  design มิใช่สิ่งอัศจรรย์ยิ่งใหญ่  สบายหรือกระบวนการง่าย ๆ  มัน
   คือ สิ่งหนึ่งที่หยิบยกขึ้นมาพิจารณากันใหม่  คุณจะต้องกลับไปและผ่าให้ทะลุเข้าในแผนผังหลักสูตร  ทำการปรับปรุงกระบวนการและขัดเกลาตลอดเวลา  เมื่อคุณผนวกบางสิ่งบางอย่างลงไปในส่วนของการวางแผนของคุณ”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น